อัตรา "การว่างงาน" และจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ แต่การว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในปี 2567ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สูงขึ้น ร่วมกับกำลังการผลิตที่ซบเซาเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวล ตามรายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลกของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือ ILO: แนวโน้มปี 2567

ปาปัวนิวกินีเกิดจลาจล หลังตำรวจหยุดงานประท้วงค่าแรง

สพฐ. เปิดรับสมัครสอบแข่งขัน รับราชการในสังกัด 81 อัตรา ถึง 18 ม.ค.นี้

ตลาดแรงงานฟื้นตัวแบบคาดไม่ถึง แม้สภาพเศรษฐกิจจะทรุดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ยังคงไม่สมดุล ขณะเดียวกัน วิกฤตการณ์ต่างๆ และความเปราะบางรูปแบบใหม่ๆ กำลังกัดกร่อนโอกาสในการสร้างความยุติธรรมทางสังคมให้ดีขึ้น ตามรายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ)

รายงานการจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลกปี 2567 ของไอแอลโอ (World Employment and Social Outlook Trends: 2024 – WESO Trends) พบว่าทั้งอัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางาน ได้ลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดใหญ่ อัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2566อยู่ที่ร้อยละ 5.1ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานทั่วโลกและอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานก็ดีขึ้นในปี 2566เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม รายงานพบว่าภายใต้ตัวเลขเหล่านี้ ความเปราะบางกำลังเริ่มปรากฏให้เห็น โดยคาดการณ์ว่าทั้งแนวโน้มตลาดแรงงานและการว่างงานทั่วโลกจะแย่ลง คาดว่าในปี 2567 จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นอีก2 ล้านคนที่จะต้องการงาน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1ในปี 2566 เป็นร้อยละ 5.2 รายได้สุทธิในประเทศกลุ่มจี 20ส่วนใหญ่จะลดลง และคาดว่ามาตรฐานการครองชีพที่แย่ลงอันเป็นผลมาจากเงินเฟ้อนั้น โดยทั่วไป“ไม่น่าจะแก้ไขได้เร็ว”

นอกจากนี้ ความแตกต่างที่สำคัญยังคงมีอยู่ระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและต่ำกว่า จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานในปี 2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ขณะที่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย อยู่ที่ร้อยละ 20.5 ในทำนองเดียวกัน อัตราการว่างงานปี2566 ในประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ​​ขณะที่อัตราการว่างงานในประเทศที่มีรายได้ต่ำ อยู่ที่ร้อยละ5.7

ยิ่งกว่านั้น แรงงานที่ยากจนมีแนวโน้มที่จะยังคงมีอยู่ แม้จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังปี 2563จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนสุดขีด กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 2.15เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (purchasing power parity – PPP)ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านคน ในปี 2565จำนวนของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มยากจนปานกลาง กล่าวคือ มีรายได้น้อยกว่า 3.65เหรียญสหรัฐต่อคนต่อวัน ตามคำจำกัดความของทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (PPP)เพิ่มขึ้น 8.4ล้านคนในปี 2565

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ยังกว้างขึ้นอีกด้วย นอกจากการลดลงของรายได้สุทธิแล้ว รายงานฉบับนี้เตือนว่า “ยังมีสัญญาณที่ไม่ค่อยสู้ดีเกี่ยวกับอุปสงค์โดยรวมและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน”อัตราการทำงานนอกระบบคาดว่าจะคงที่ในปี 2567โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 58ของกำลังแรงงานทั่วโลก

ความไม่สมดุลของตลาดแรงงาน

อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน การมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานหญิงมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วแต่ช่องว่างทางเพศยังคงมีอยู่ชัดเจน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา อัตราการว่างงานของเยาวชนยังคง เป็นปัญหาท้าทาย อัตราของเยาวชนที่ไม่อยู่ในการจ้างงาน การศึกษาหรือการฝึกอบรม (Not in Employment, Education or Training – NEETs) ยังคงมีอยู่ในระดับที่สูง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนผู้หญิงซึ่งส่งผลต่อโอกาสการจ้างงานในระยะยาว

รายงานยังพบว่า ผู้ที่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังการระบาดใหญมักไม่ทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงเท่าเดิม ในขณะที่จำนวนวันลาป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การเติบโตของผลิตภาพชะลอตัว

หลังการเติบโตหลังการระบาดใหญ่ช่วงสั้นๆ ผลิตภาพแรงงานได้กลับมาอยู่ในระดับต่ำอย่างที่เคยเห็นในทศวรษที่ผ่านมา ที่สำคัญ รายงานยังพบว่า แม้จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของผลผลิตยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เหตุผลประการหนึ่งก็คือ การลงทุนจำนวนมากมุ่งไปสู่ภาคส่วนที่มีผลิตภาพน้อยกว่า เช่น ภาคบริการและก่อสร้าง อุปสรรคอื่นๆ ได้แก่ การขาดแคลนทักษะและการผูกขาดทางดิจิทัลขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวในการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาและภาคส่วนที่ขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการที่มีผลิตภาพต่ำ

แนวโน้มที่ไม่แน่นอน

“รายงานฉบับนี้วิเคราะห์เบื้องหลังตัวเลขตลาดแรงงาน และสิ่งที่เผยออกมาก่อให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เริ่มดูเหมือนว่าความไม่สมดุลเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง”

 ILO คาดปี 67 อัตราว่างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น กังวลความเหลื่อมล้ำ

กิลเบิร์ต เอฟฮวงโบ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าว “ความท้าทายด้านกำลังแรงงานที่พบนั้น เป็นภัยคุกคามต่อทั้งการดำรงชีวิตและต่อธุรกิจ และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องจัดการกับสิ่งเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว มาตรฐานการครองชีพที่แย่ลงและผลิตภาพที่ลดลง ร่วมกับภาวะเงินเฟ้อ ได้สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นและบั่นทอนความพยายามต่างๆ ในการบรรลุความยุติธรรมทางสังคม และหากปราศจากความยุติธรรมทางสังคมที่ดีขึ้น เราก็จะไม่มีสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน”

พยากรณ์อากาศ 11 -20 ม.ค. เตรียมรับมือฝนถล่มหลายพื้นที่คำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์!

เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี

“อาจารย์แมน” แจง “ลงนะดาก” ทำตามลูกค้าขอ-ยันทำได้ทุกจุด!

By admin