เป็นที่ทราบกันดีว่า “ก๊าซมีเทน” ซึ่งเกิดจากทั้งภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การใช้ที่ดิน และการจัดการของเสีย เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ก่อภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และองค์กรหรือกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ก็ได้พยายามสื่อสารให้มีการลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดมีเทน โดยเฉพาะเรื่องของการลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์เสนออีกหนึ่งวิธีการที่อาจเป็นไปได้ในการลดมีเทน ซึ่งเท่ากับจะทำให้อัตราการเกิดภาวะโลกร้อนช้าลง นั่นคือการใช้ “แบคทีเรียกินมีเทน”

กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองบีช เสนอวิธีการกำจัดมีเทนโดยใช้กลุ่มแบคทีเรียที่เรียกว่า “เมทาโนโทรฟ” (methanotroph) ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนมีเทนให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และชีวมวลตามธรรมชาติ

แมรี อี. ลิดสตรอม หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “แบคทีเรียทั้งหมดในกลุ่มนี้ ‘กิน’ มีเทน โดยกำจัดมันออกจากอากาศ และเปลี่ยนส่วนหนึ่งของมีเทนให้กลายเป็นแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืน”

ทีมของลิดสตรอมได้ค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มนี้ที่เรียกว่า “เมทิลโลทูวิไมโครเบียม บูรีเอเทนส์ 5 จีบี 1 ซี” (methylotuvimicrobium buryatense 5GB1C) ซึ่งสามารถกำจัดมีเทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีการใช้แพร่หลาย นักวิจัยเชื่อว่า เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการช่วยชะลอภาวะโลกร้อนได้

โดยปกติแล้ว แบคทีเรียกลุ่มนี้จะเจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่มีมีเทนในระดับสูง ระหว่าง 5,000-10,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งความเข้มข้นปกติของมีเทนในบรรยากาศของเรามีระดับมีเทนต่ำกว่ามาก เพียงประมาณ 1.9 ppm เท่านั้น แต่บางพื้นที่ เช่น หลุมฝังกลบ นาข้าว และบ่อน้ำมัน มีความเข้มข้นสูงกว่า ที่ประมาณ 500 ppm

ยวน นิสเบต ศาสตราจารย์ด้านธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ลอนดอน กล่าวว่า “แบคทีเรียที่กินมีเทนอย่างรวดเร็วที่ความเข้มข้นสูง ซึ่งพบอยู่รอบ ๆ ฝูงวัว ฯลฯ อาจมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดการปล่อยก๊าซมีเทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเกษตรกรรมเขตร้อน”

จากการศึกษาพบว่า อัตราการบริโภคมีเทนที่สูงของแบคทีเรียสายพันธุ์นี้อาจเนื่องมาจากความต้องการพลังงานต่ำและการดึงดูดมีเทนมากขึ้น ซึ่งมากกว่าแบคทีเรียอื่น ๆ มากกว่า 5 เท่า

“แบคทีเรียจะออกซิไดซ์มีเทนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์น้อยกว่าพอสมควร และคุณสามารถใช้ก๊าซเสียนี้เพื่อสูบเข้าไปในเรือนกระจกและปลูกมะเขือเทศได้” นิสเบตกล่าว

ลิดสตรอมเสริมว่า “อุปสรรคใหญ่ที่สุดในการนำแบคทีเรียไปใช้ในเชิงปฏิบัติในขณะนี้คือด้านเทคนิค เราจำเป็นต้องเพิ่มหน่วยบำบัดมีเทน 20 เท่า หากเราสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดก็จะกลายเป็นเงินลงทุนและการยอมรับจากสาธารณะ เราเชื่อว่าเราสามารถนำร่องการทดสอบได้ภายใน 3-4 ปี และการขยายขนาดจะขึ้นอยู่กับเงินลงทุนและการดำเนินการเชิงพาณิชย์”

ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนที่ใหญ่ที่สุดอันเนื่องมาจากการผายลมและมูลของสัตว์ในปศุสัตว์ มีเทนมีพลังความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 85 เท่าในช่วง 20 ปีแรกหลังจากที่มันขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

มีเทนในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปัจจุบันคิดเป็นอย่างน้อย 30% ของความร้อนทั่วโลกทั้งหมด ในปี 2021 ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งเห็นพ้องที่การประชุม Cop26 ว่าจะทำงานร่วมกันเพื่อลดระดับมีเทนอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจริง การปล่อยมีเทนของหลายประเทสยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 “แบคทีเรียกินมีเทน” อีกหนึ่งทางลดปัญหาภาวะโลกร้อน-

ในปัจจุบัน วิธีการลดก๊าซมีเทนที่ถูกนำเสนอส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ก็ไม่สามารถทำได้เสมอไป นักวิจัยเน้นย้ำว่า จำเป็นต้องมีทั้งกลยุทธ์การกำจัดมีเทนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ตาม ลิดสตรอมเตือนว่า กลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซใด ๆ ที่อาศัยการทำงานของแบคทีเรียอาจส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างความร้อนให้กับโลกมากกว่าก๊าซมีเทนถึง 10 เท่า ที่สำคัญ ซึ่งเจ้าแบคทีเรีย เมทิลโลทูวิไมโครเบียม บูรีเอเทนส์ นี้ ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก AFP PHOTO /NASA/SCIENTIFIC VISUALIZATION STUDIO/HANDOUTคำพูดจาก สล็อตวอเลท

By admin